ภาษา : ไทย
เข้าสู่ระบบ


รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก




ติดต่อเรา


สังคมออนไลน์
  


  QR Code


สถิติของเว็บไซต์
01/08/2555
05/03/2567
6846323
374554


ออนไลน์
ผู้ใช้งานขณะนี้ :
 
 บุคคลทั่วไป  193 ราย


ทนายความดคีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม 

 

 

สาระสำคัญในการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

 

1. การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมมีกฎหมายรับรองอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิขย์ บรรพ 5 ว่าด้วยเรื่องครอบครัว ลักษณะ 2 บิดามารดาและบุตร หมวด 4 บุตรบุญธรรม และ พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478

2. บุคคลที่จะเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมได้ต้องอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ และผู้นั้นจะต้องมีอายุมากกว่าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1598/19

3. การรับบุตรบุญธรรม ถ้าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมีอายุไม่ต่อกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์ ผู้นั้นต้องให้ความยินยอมด้วย ตามมาตรา 1598/20

4. การรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินของบิดาและมารดาของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมก่อน ในกรณีที่บิดามารดาคนใดคนหนึ่งตายหรือถูกถอนอำนาจปกครองต้องได้รับความยินยอมของมารดาหรือบิดาซึ่งยังมีอำนาจปกครอง ตามมาตรา 1598/21 วรรคหนึ่ง

    ถ้าไม่มีผู้มีอำนาจให้ความยินยอมดังกล่าวหรือมีแต่บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคนไม่สามารถแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้หรือไม่ได้หรือไม่ให้ความยินยอมและการไม่ให้ความยินยอมนั้นปราศจากเหตุผลอันสมควรและเป็นปฏิปักษ์ต่อสุขภาพความเจริญหรือสวัสดิภาพของผู้เยาว์ มารดาหรือบิดาหรือผู้ประสงค์จะขอรับบุตรบุญธรรมหรืออัยการจะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมตามวรรคหนึ่งก็ได้

5. ในการรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมถ้าผู้เยาว์เป็นผู้ถูกทอดทิ้งและอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์เด็กตามกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์และคุ้มครองเด็ก ให้สถานสงเคราะห์เด็กเป็นผู้ให้ความยินยอม ให้นำความในมาตรา 1598/21 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตามมาตรา 1598/22

6. ในการณีที่ผู้เยาว์มิได้ถูกทอดทิ้งแต่อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของสถานสงเคราะห์เด็กตามกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์และคุ้มครองเด็ก บิดาและมารดา หรือบิดา หรือมารดาในกรณีที่มารดาหรือบิดาคนใดคนหนึ่งตายหรือถูกถอนอำนาจปกครอง จะทำหนังสือมอบอำนาจให้สถานสงเคราะห์เด็กดังกล่าวเป็นผู้มีอำนาจให้ความยินยอมในการรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมแทนตนก็ได้ ในกรณีเช่นนั้นให้นำความในมาตรา 1598/22 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตามมาตรา 1598/23 วรรคหนึ่ง

    หนังสือมอบอำนาจตามวรรคหนึ่งจะถอนเสียมิได้ตราบเท่าที่ผู้เยาว์ยังอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของสถานสงเคราะห์เด็กนั้น ตามมาตรา 1598/23 วรรคสอง

7. ผู้มีอำนาจให้ความยินยอมแทนสถานสงเคราะห์เด็กในการรับบุตรบุญธรรมมาตรา 1598/22 หรือ มาตรา 1598/23 จะรับผู้เยาว์ซึ่งอยู่ในความดูแลหรืออยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของสถานสงเคราะห์เด็กนั้นเป็นบุตรบุญธรรมของตนเองได้ต่อเมื่อศาลได้มีคำสั่งอนุญาตตามคำขอของผู้นั้นแทนการให้ความยินยอมของสถานสงเคราห์เด็ก ตามมาตรา 1598/24

8. ผู้จะรับบุตรบุญธรรมหรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสอยู่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน ในกรณีที่คู่สมรสไม่อาจให้ความยินยอมได้หรือไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่และหาตัวไม่พบเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ต้องร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมของคู่สมรสนั้น ตามมาตรา 1598/25

9. ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม ตามมาตรา 1598/26 วรรคหนึ่ง

    ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งจะจดทะเบียนรับผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของตนด้วย จะต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรสซึ่งเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมอยู่แล้วและมิให้นำมาตรา 1598/21 มาใช้บังคับ ตามมาตรา 1598/26 วรรคสอง

10. การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย แต่ถ้าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมนั้นเป็นผู้เยาว์ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก่อน ตามมาตรา 1598/27 และ การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ให้ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมเป็นผู้ร้องขอ ตาม พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 มาตรา 22 วรรคหนึ่ง

 11. ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนต่อเมื่อทั้งสองฝ่ายให้ถ้อยคำว่า ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ว่านั้น หรือถ้อยคำที่ได้ให้ไว้ไม่เป็นความจริง ห้ามมิให้รับจดทะเบียน ตามมาตรา 22 วรรคสอง พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478

    ถ้านายทะเบียนไม่ยอมรับจดทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม ผู้ร้องขอจดทะเบียนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะยื่นคำร้องต่อศาลก็ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล เมื่อศาลไต่สวนได้ความว่าการได้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายครบถ้วนแล้ว ก็ให้ศาลมีคำสั่งไปให้รับจดทะเบียน ตามมาตรา 22 วรรคสาม พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478

12. บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานนะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น แต่ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบตรัวที่ได้กำเนิดมา ในกรณีเช่นนี้ ให้บิดามาตราโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองนับแต่วันเวลาที่เด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/28 วรรคหนึ่ง

13. การรับบุตรบุญธรรมไม่ก่อให้ผู้รับบุตรบุญธรรมเกิดสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรมเพราะเหตุการรับบุตรบุญธรรม ตามมาตรา 1598/29

14. ถ้าบุตรบุญธรรมซึ่งไม่มีคู่สมรสหรือผู้สืบสันดานตายก่อนผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้รับบุตรบุญธรรมมีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินที่ตนได้ให้แก่บุตรบุญธรรมคืนจากกองมรดกของบุตรบุญธรรมเพียงเท่าที่ทรัพย์สินนั้น ยังคงเหลืออยู่ภายหลังที่ชำระหนี้ของกองมรดกเสร็จสิ้นแล้ว ตามมาตรา  1598/30 วรรคหนึ่ง

    ห้ามมิให้ฟ้องคดีเรียกร้องสิทธิตามวรรคหนึ่ง เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ผู้รับบุตรบุญธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของบุตรบุญธรรมหรือเมื่อพ้นกำหนดสิบปี นับแต่วันที่บุตรบุญธรรมตาย ตามมาตรา 1598/30 วรรคสอง

15. การเลิกรับบุตรบุญธรรม ถ้าบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้วจะเลิกโดยความตกลงกันในระหว่างผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมเมื่อใดก็ได้ ตามมาตรา 1598/31 วรรคหนึ่ง

     ถ้าบุตรบุญธรรมยังไม่ได้บรรลุนิติภาวะ การเลิกรับบุตรบุญธรรมจะทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของบิดาและมารดาและให้นำมาตรา 1598/20 และมาตรา 1598/21 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตามมาตรา 1598/31 วรรคสอง

    ในกรณที่ได้รับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมตามมาตรา 1598/21 วรรคสอง มาตรา 1598/22 มาตรา 1598/23 มาตรา 1598/24 หรือมาตรา 1598/26 วรรคสอง ถ้าบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ การเลิกรับบุตรบุญธรรมให้กระทำได้ ต่อเมื่อมีคำสั่งศาลโดยคำร้องขอของผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการ ตามมาตรา 1598/31 วรรคสาม

    การเลิกรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย ตามมาตรา 1598/31 วรรคสี่  และการจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยความตกลงนั้น ให้นายทะเบียนรับจดเมื่อทั้งสองฝ่ายร้องขอ ตามมาตรา 23 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478

16. การรับบุตรบุญธรรมย่อมเป็นอันยกเลิกเมื่อมีการสมรสฝ่าฝืนมาตรา 1451 คือกรณีที่ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมทำการสมรสกันนั่นเอง ตามมาตรา 1598/32

17. คดีฟ้องเลิกการรับบุตรบุญธรรมนั้นจะกระทำได้เมื่อ (มาตรา 1598/33)

    (1) ฝ่ายหนึ่งทำการชั่วร้ายไม่ว่าจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ เป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง หรือถูกเกลียดชัง หรือได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินสมควร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้

    (2) ฝ่ายหนึ่งหมิ่นประมาทหรือเหยีดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่งอันเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้ ถ้าบุตรบุญธรรมกระทำการดังกล่าวต่อคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม ให้ผู้รับบุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้

    (3) ฝ่ายหนึ่งกระทำการประทุษร้ายอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีหรือคู่สมรสของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจอย่างร้ายแรงและการกระทำนั้นเป็นความผิดที่มีโทษอาญา อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้

    (4) ฝ่ายหนึ่งไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องเลิกได้

    (5) ฝ่ายหนึ่งจงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องเลิกได้

    (6) ฝ่ายหนึ่งต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเกินสามปี เว้นแต่ความผิดที่กระทำโดยประมาท อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้

    (7) ผู้รับบุตรบุญธรรมทำผิดหน้าที่บิดามารดา และการกระทำนั้นเป็นการละเมิดหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 1564 มาตรา 1571 มาตรา 1573 มาตรา 1574 หรือมาตรา 1575 เป็นเหตุให้เกิดหรืออาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อบุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้

    (8) ผู้รับบุตรบุญธรรมผู้ใดถูกถอนอำนาจปกบางส่วนหรือทั้งหมด และเหตุที่ถูกถอนอำนาจปกครองนั้นมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่า ผู้นั้นไม่สมควรเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมต่อไป บุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้

18. ห้ามมิให้ฟ้องขอเลิกการรับบุตรบุญธรรมเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่วันที่ผู้ขอเลิกการรับบุตรบุญธรรมรู้หรือควรได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้เลิกการนั้นหรือเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เหตุนั้นเกิดขึ้น ตามมาตรา 1598/34

19. การฟ้องเลิกการรับบุตรบุญธรรมถ้าบุตรบุญธรรมมีอายุไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ให้บิดามารดาโดยกำเนิดเป็นผู้มีอำนาจฟ้องแทน แต่ถ้าบุตรบุญธรรมมีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์แล้วบุตรบุญธรรมฟ้องได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใด ตามมาตรา 1598/35 วรรคหนึ่ง

    ในกรณีตามวรรคหนึ่ง อัยการจะฟ้องคดีแทนบุตรบุญธรรมก็ได้ ตามมาตรา 1598/35 วรรคสอง

19. การเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยคำพิพากษาของศาล ย่อมมีผลแต่เวลาที่คำพิพากาษาถึงที่สุด แต่จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมเสียสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่ได้จดทะเบียนแล้ว ตามมาตรา 1598/36

20.กรณีถ้าศาลพิพากษาให้เพิกถอนหรือเลิกการรับบุตรบุญธรรม ให้นำมาตรา 16 มาบังคับโดยอนุโลม ตาม พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 มาตรา 23 วรรคสอง 

     ตามมาตรา 16 คือ เมื่อศาลได้พิพากษาให้เพิกถอนหรือเลิกการรับบุตรบุญธรรม ผู้มีส่วนได้เสียจะขอให้นายทะเบียนบันทึกไว้ในทะเบียนก็ได้ แต่ต้องยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดที่รับรองว่าถูกต้องแล้วต่อนายทะเบียนนั่นเอง

21. เมื่อผู้รับบุตรบุญธรรมตายหรือมีการเลิกรับบุตรบุญธรรม ถ้าบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้บิดามารดาโดยกำเนิดกลับมีอำนาจปกครองนับแต่เวลาที่ผู้รับบุตรบุญธรรมตาย หรือนับแต่เวลาที่จดทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรม ตามมาตรา 1598/31 หรือนับแต่เวลาที่ศาลมีคำพิพากษาภึงที่สุดให้เลิกการรับบุตรบุญธรรม เว้นแต่ศาลเห็นสมควรสั่งเป็นประการอื่น ตามมาตรา 1598/37 วรรคหนึ่ง

    ในกรณีที่มีการตั้งผู้ปกครองของผู้เป็นบุตรบุญธรรมไว้ก่อนผู้รับบุตรบุญธรรมตาย หรือก่อนการเลิกรับบุตรบุญธรรม ให้ผู้ปกครองยังคงมีอำนาจหน้าที่เช่นเดิมต่อไป เว้นแต่บิดามารดาโดยกำเนิดจะร้องขอ และศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องขอเป็นผู้มีอำนาจปกครอง ตามมาตรา 1598/37 วรรคสอง

 

 

 

 

 ***** บริษัท เอสเอ็มอี ลอว์ เซอร์วิส จำกัด บริการด้านกฎหมายครบวงจร โดยให้การบริการภายใต้คำนิยาม บริการด้านกฎหมาย ด้วยหัวใจนักกฎหมายมืออาชีพ” มีปัญหาเรื่องกฎหมายโทรหาเราที่เบอร์   02-6300-460 , 02-2365-722 เวลา 8.30-18.00 นาฬิกา วันจันทร์-เสาร์ นอกเวลาดังกล่าวสามารถติดต่อได้ที่ 083-4925-816   หรือ                          ทาง e-mail :smelawservice@hotmail.com  ทาง facebook : www.facebook.com/smelawservice    ทาง twitter : twitter.com/smelawservice *****

 

 

 

 

     การเปลี่ยนผู้ใช้อำนาจปกครองตามวรรคหนึ่งหรือผู้ปกครองตามวรรคสอง ไม่เป็นเหตุให้เสื่อสิทธิที่บุคคลภายนอกได้มาก โดยสุจริตก่อนผู้รับบุตรธรรมตายหรือก่อนจดทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรม ตามมาตรา 1598/37 วรรคสาม

    ให้พนักงานอัยการเป็นผู้มีอำนาจร้องขอเพิ่อให้ศาลมีคำสั่งเป็นประการอื่นตามวรรคหนึ่ง ตามมาตรา 1598/37 วรรคท้าย

 

 

 

หน้าที่ของทนายความคดีจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

1. เตรียมคดี โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ทั้งจากฝ่ายลูกความและบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

2. ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารว่าลูกความว่ามีครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เพราะคดีเกี่ยวกับจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมอาจมีเอกสาร เอกสารราชการหรือเอกสารมหาชนเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม หนังสือให้ความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง กรณีผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ เป็นต้น 

3. ตรวจสอบสิทธิ,หน้าที่ ทั้งหมดของลูกความและบุคคลฝ่ายอื่นที่เีกี่ยวข้องด้วย เช่น เหตุที่ทำให้รับบุตรบุญธรรมได้ เหตุให้เลิกรับบุตรบุญธรรมได้ เป็นต้น

4. ค้นหาข้อกฎหมาย และติดตามการแก้ไขกฎหมายใหม่อยู่เสมอ เพราะกฎหมายในเรื่องนี้ ได้มีการแก้ไขล่าสุดในปี พ.ศ.2551 เพื่อการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของคู่ความได้อย่างถูกต้อง ตรวจสอบคำพิพากษศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง และอายุความหรือระยะเวลาในการดำเนินคดีของลูกความ

5. ดูแลผลประโยชน์ของลูกความในผลความคืบหน้าของคดีอย่างสม่ำเสมอ

6. ให้คำแนะนำปรึกษาในทางกระบวนพิจารณาของศาลและข้อกฎหมายแก่ลูกความอย่างถูกต้องครบถ้วน เพื่อประกอบการตัดสินใจของลูกความ